วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach)

ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์นั้นเป็นแนวคิดการบริหารจัดการที่ผู้บริหารจะปฏิบัติซึ่ง
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือเป็นแนวคิดซึ่งเป็นทางเลือกของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างและระบบควบคุมองค์การ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ หรือเป็นวิธีการที่กล่าวถึงองค์การที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์เป็นการประสมประสานแนวคิดในการบริหารจัดการที่สำคัญ 4 ประการคือ (1) แนวคิดแบบดั้งเดิม (2) แนวคิดเชิงพฤติกรรม (3) แนวคิดเชิงปริมาณ (4) แนวคิดเชิงระบบ
[1][1]ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณี (Contingency Theory) เริ่มมีบทบาทประมาณปลายปี ค.ศ.1960 เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากความคิดอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้างและระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงขององค์การ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมนุษย์ (Humanistic Environment)  ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณีนี้มีอิสระมาก โดยมีธรรมชาติ (Natural) เป็นตัวแปรและเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ และระเบียบแบบแผน มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สภาพแวดล้อม เป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวมและเป้าหมายของสมาชิกทุกคนในองค์การ โดยมีข้อสมมติฐานว่า องค์การที่เหมาะสมที่สุดคือ องค์การที่มีโครงสร้างและรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ การสนับสนุน และความต้องการของสมาชิกในองค์การนั้นด้วย
   บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้
                  [2][2]การบริหารตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่มีรูปแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาวแวดล้อมแต่ละอย่าง  การเลือกแบบใดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัว การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้การจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดกับปัญหาแต่ละปัญหา มีความเชี่ยวชาญที่จะจำแนกวิเคราะห์ และแก้ไขแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นความจริงว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีสถานการณ์แตกต่างกัน ทำให้การบริหารเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อตายตัว แนวความคิดของการบริหารตามสถานการณ์จึงถือเอาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนอกองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ  การจัดการวิธีนี้มีใช้กันในหลายองค์การ  โดยพิจารณาว่า  “IF-THEN”  ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น  แล้วจึงเลือกกลวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น 
[3][3]การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน
หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น

สรุปหลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
1.      ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2.      ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3.   เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระะบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4.      สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5.   คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6.      เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
§         ความแตกต่างระหว่างบุคคล
§         ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
§         ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
§         ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
[4][4]แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถนำทฤษฎีของ Fiedler มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้กล่าวไว้ มี 2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
2.  ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)

การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์ เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้นำท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกัน ทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้นำแต่ละท่านจะเลือกใช้ ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์

[5][5]ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ ( Contingency Approach ) องค์การไม่ได้เหมือนกันทุกองค์การ ปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อองค์การมีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันในกรณีของการบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์และหลักการบริหารจัดการที่พยายามออกแบบองค์การทั้งหมดให้มีความเหมือนกัน อย่างไรก็ตามโครงสร้างและระบบของการทำงานในแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตได้ทั้งหมด จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ เช่นในปัจจุบันผู้บริหารจำนวนมากออกแบบองค์การใหม่เรียกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ ที่จะคอยสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารและความร่วมมือกัน ดังนั้นทุกคนจะกำหนดและร่วมกันแก้ปัญหา ทำให้องค์การสามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงและมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

แนวคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่เน้นผู้บริหารให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ   ขององค์การ   ตัวแปรต่าง ๆ   ในแต่ละสถานการณ์ทางการบริหารมีความแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ   ดังนั้น   ผู้บริหารควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การและความพึงพอใจของพนักงาน   กล่าวคือแนวคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ย่อมมีวิถีทางที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมทางการบริหารที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้ดีที่สุดวิธีเดียว หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันหากแต่มีหลากหลายวิธีในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/20420


วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โครงการ                             อาหารกลางวันเพื่อนักเรียน
กลยุทธ์โรงเรียนที่ 1            สร้างความเสมอภาคละเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สอดคล้องกับกลยุทธ์ สพท.ที่ 2      ขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนอย่าง
                                                        กว้างขวางและทั่วถึง
แผนงาน                               การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ฝ่ายงาน                                งานบริหารทั่วไป
กลุ่มงาน                                กิจการนักเรียน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ         โรงเรียนบ้านหนองตอ -  บัวเสียว
ผู้รับผิดชอบโครงการ            นางพิมพา    บุญย็น
ลักษณะโครงการ                   โครงการต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน             1  ตุลาคม   2552 ถึง  30  มีนาคม   2553




นักเรียนมีความสุขกับการรับประทานอาหารอร่อย
1. หลักการและเหตุผล
            การปฏิรูปการศึกษาเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบการจัดการการเรียนการสอน สิ่งสำคัญโรงเรียนต้องมีการพัฒนาผู้เรียนให้มีการพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และมีการพัฒนาการด้านสติปัญญา การพัฒนาการทั้งสี่ด้านนี้ ทางโรงเรียนควรส่งเสริมและมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กันกับด้านอื่นๆ
             การจัดกิจกรรมในโครง อาหารกลางวันเพื่อนักเรียน  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาหารกลางวันเพื่อนักเรียนในโรงเรียน ได้เนินการให้บริการอาหารที่มีประโยชน์แก่นักเรียนได้รับประทานเวลามื้อกลางวันฟรีทุกคนที่โรงเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆของนักเรียน สร้างความพร้อมให้แก่นักเรียนใน การปฏิบัติงานทุกกระบวนการเรียนรู้ ลดจำนวนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำ
2. วัตถุประสงค์
    2.1  ผลผลิต
                ด้านปริมาณ  นักเรียนมีอาหารกลางวันรับประทานทุกวันทุกคนครบร้อยละ 100  โดยแยกจำนวนนักเรียนเป็นช่วงชั้นดังนี้  คือ ชั้นอนุบาล ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2
               ด้านคุณภาพ  มีอาหารกลางวันที่สะอาด มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ  และมีผลการเรียนดีขึ้น
    2.2 ผลลัพธ์  นักเรียนมีภาวะโภชนาการดีขึ้นและดลจำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นทุกๆ ด้าน

แผนปฏิบัติงานโครงการอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ
วัน เดือน ปี
การดำเนินงาน
ผู้รับผิดชอบ
 ตุลาคม2552
เขียนโครงการ
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
  ตุลาคม 2552
เสนอโครงการ
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
  พฤศจิกายน 2552
สำรวจความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
  พฤศจิกายน 2552
เตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
พฤศจิกายน 2552-
กันยายน 2553
ดำเนินงานตามโครงการ
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
 กันยายน 2553
ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ
กันยายน  2553
รายงานผล
นางพิมพา     บุญย็น และคณะ


3.  กิจกรรมและการดำเนินงาน

กิจกรรม
งบประมาณ
ระยะเวลา
1. ประชุมครูและนักเรียน
2.
แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ
3.
สำรวจความคิดเห็น
4.
เตรียมอุปกรณ์
5.
ดำเนินงานตามโครงการ
6.
การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร
7.
การให้ความรู้เกี่ยวกับเลือกรับประทาน
อาหารที่เป็นประโยชน์
8.
จัดกิจกรรมสำรวจเครื่องอุปกรณ์บริโภค ในร้านค้า
9.
สำรวจความคิดเห็นและประเมินผล
1,000 .-
-
500 .-
10,000 .-
13,300,000 .-
1,000 .-
500 .-
10,000 .-
300 .-
พ.ย. 2552
,,-----,,
,,      ,,
,,      ,,
พ.ย. 2552 มีนาคม 2553

4.  การประเมิน
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล
นักเรียนมีภาวะทางโภชนาการ ทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์และทางสังคมสมบูรณ์ดีขึ้น
- บันทึกสถิติการรับประทาน
อาหารกลางวันของนักเรียน
- บันทึกการวัดส่วนสูงและการชั่ง
น้ำหนัก
- ทดสอบความสามารถด้านการ
เรียนรู้
แบบบันทึกการรับประทานอาหารกลางวันของนักเรียน
แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก วัดส่วน
แบบทดสอบ
- แบบประเมินผล


                         อาหารสะอาด...อร่อย

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553









รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม
นางพิมพา  บุญเย็น  นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่นที่ 2
ศูนย์โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ จ.สุรินทร์

1.ชื่อนวัตกรรม
                     แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  กลุ่มสาระภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.นวัตกรรมด้านใด
                    เป็นนวัตกรรมการศึกษาด้านการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3 ความสำคัญของนวัตกรรม          
                     ภาษาไทยเป็นมรดกที่คนในชาติภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง    เพราะเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่าง   เป็นสื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์   ศิลปวิทยาการ   และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่ช่วยทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจกันได้    นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนปัญญาและความก้าวหน้าของคน    ภาษาของชนชาติใดย่อมมีความสำคัญต่อคนในชาตินั้น    ภาษาไทยจึงเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อคนไทย   ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาติที่คนไทยทุกคนควรภูมิใจและช่วยกันธำรงรักษาไว้  อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวันในการดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                    ภาษาไทยจึงเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิต  เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และการที่ผู้เรียนจะนำความรู้วิชาภาษาไทยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฝึกฝนทักษะทั้ง 5  ด้าน  ได้แก่  การฟัง  ดู  พูด  อ่านและเขียน ในบรรดาทักษะทั้งสี่การเขียนเป็นทักษะถือเป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึก และความเข้าใจของตนเองออกมาเป็นตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ในการเรียนการสอนทุกวิชาจะต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องช่วยบันทึกความจำ จึงนับได้ว่าการเขียนเป็นรากฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาต่าง ๆ  การเขียนจึงถือได้ว่าเป็นการสื่อสารที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะอื่น  (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.   2550)
                     ปัจจุบันทักษะการอ่านและการเขียนพบว่ามีปัญหาในเรื่องรูปแบบที่เขียนผิด โดยมีปัญหามากในการเขียนผิดที่  การใช้ตัวการันต์ผิดที่ วรรณยุกต์ผิดที่ ตัวสะกดผิดที่ สระเสียงสั้น-ยาว ใช้พยัญชนะผิด เป็นต้น สำหรับคำยากและคำที่อยู่ในระดับยากมากที่นักเรียนเขียนผิดมากได้แก่ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดหรือสะกดพร้อมกัน 2 ตัว คำที่มีหลายพยางค์ คำที่มีตัวการันต์ คำที่มีอักษรควบกล้ำ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่มีวรรณยุกต์กำกับ คำที่ประวิสรรชนีย์ คำที่ผสมด้วยสระ ใ ไ คำที่มี ห นำ และคำที่มีทัณฑฆาตกำกับ (ทฤษฏี    ธีระวัฒนพานิช.   2536 ) ซึ่งพบได้จากการตรวจแบบฝึกหัดและการตรวจข้อสอบวัดผลปลายภาคเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และจากผลการวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในโรงเรียนระดับประถมศึกษาของกองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนภาษาไทยของนักเรียน แบบเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ สมรรถภาพที่มีปัญหา ได้แก่ ทักษะการอ่านและการเขียน
                      นอกจากนี้นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษามักจะเขียนหนังสือไม่ถูกต้องได้แก่ การสะกดคำผิด การใช้การันต์และการใช้หลักภาษาตลอดจนการเขียนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเขียนที่ปรากฏต่อสาธารณะชนส่วนหนึ่งมักพบว่าเขียนผิดในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ คำโฆษณาต่างๆ เป็นต้น ในระดับประถมศึกษาการเขียนสะกดคำผิดถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการแสดงออกทางการเขียนของเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถสะกดคำเขียนตามเจตนาของตนเองได้ (บันลือ พฤกษะวัน.   2531) จะเห็นว่าการเขียนสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของการเขียน โดยถือว่าเป็นทักษะการเขียนที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเขียนสะกดได้ถูกจะช่วยให้อ่านออกและเขียนได้ถูกต้อง ช่วยให้นักเรียนรู้จักคำต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน (วรรณี โสมประยูร.   2537 ) ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสำนักทดสอบทางการศึกษา   กระทรวงศึกษาธิการ   ในปีการศึกษา 2550   พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.46 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับผลการประเมินผลคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ของโรงเรียนบ้านหนองตอ-บัวเสียวที่พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.40 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือร้อยละ 75 จะเห็นได้ว่าสมรรถภาพในการเขียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับสมรรถภาพด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการสะกดคำผิดในเรื่องสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์สูงมาก ทำให้มีปัญหาในด้านการเรียนภาษาไทย เด็กอ่านไม่ออกและเขียนไม่ถูกต้อง
                       การเขียนสะกดคำที่ถูกต้องเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ คนไทยทุกคนจึงควรตระหนักถึงปัญหาการเขียนสะกดคำผิดและช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ปัญหาในการเขียนสะกดคำผิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่อง การเขียนสะกดคำผิดมาก ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การมีประสบการณ์ผิด การเขียนตามเสียงพูด เสียงอ่าน หรือเขียนผิดเพราะการเดา ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง ของการเขียนสะกดคำผิดของนักเรียนนั้น น่าจะเป็นเพราะนักเรียนสับสนในเรื่องของเสียงอ่าน เสียงพูด กับตัวอักษรที่ใช้เรียน วิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ ครูผู้สอนต้องมีส่วนสำคัญโดยตรงที่จะช่วยแก้ไขในข้อบกพร่องให้แก่นักเรียน ครูควรหาวิธีสอนและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เลือกคำมาสอนและฝึกทักษะการเขียน ตามลำดับความยากง่าย การสร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อใช้เสริมหลังจากเรียนเนื้อหาไปแล้ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแบบฝึกทักษะการสะกดคำ จะช่วยให้ครูสามารถแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนสะกดคำของนักเรียนได้ ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thondike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับการฝึกฝนหรือการกระทำซ้ำ  ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ โดยลักษณะวิชาแล้ว ผู้เรียนจะมีทักษะทางภาษาดี มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทย ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนและกระทำซ้ำ ถ้าผู้เขียนได้ฝึกฝน ได้ทำแบบฝึกหัด ได้ใช้ทักษะทางภาษามากเท่าใดก็จะช่วยให้มีทักษะดีมากขึ้นเท่านั้น (สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์.   2523 ) นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย เกิดทักษะกระบวนการ และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทักษะในการเขียนสะกดคำ
4.กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
             4.1วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรมไปใช้
                    4.1.1เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
                   4.1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ระหว่างก่อนใช้แบบฝึกกับหลังการใช้แบบฝึกการสะกดคำยาก
                   4.1.3 เพื่อศึกษาเจตนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากเป็นสื่อการเรียน

                งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                                   วิชัย  เพ็ชรเรือง (2531 : 130)  ได้สร้างแบบฝึกซ่อมเสริมในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนสุนทรพัฒนา  จังหวัดชัยภูมิ  จำนวน  80  คนผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกซ่อมเสริม   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสามารถในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกซ่อมเสริม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     สุรศักดิ์  กาญจนการุณ (2531 : 85)  ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านการเขียน  และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่พูดภาษาเขมรเป็นภาษาแม่  ที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษากับวิธีสอนแบบปกติ  ในวิชาภาษาไทยผลการทดลองปรากฏว่า  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษา  มีความเข้าใจในการอ่านการเขียน  และความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวธีสอนแบบปกติ
                     จรัสศรี  กิจบัญญัติอนันต์ (2532 :  บทคัดย่อ)  ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน  การเขียนคำ  และทัศฯคติต่อวิชาภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จังหวัดขอนแก่น   ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา  กับการสอนปกติ  ผลการทดลองปรากฏว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษามีความมเข้าใจในการอ่าน  การเขียน  และทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ
                     สุชาดา  ชาทอง (2534 : 76-77) ได้ศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนำไปทดลองกับนักเรียนในสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา  จำนวน  45 โรง  ผลการวิจัยพบว่า  ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนสะกดการันต์มีดังนี้
1.       ใช้พยัญชนะต้นผิด
2.       การใช้สระผิด
3.       การใช้สะกดการันต์ผิด
4.       การใช้วรรณยุกต์ผิด
5.       การใช้พยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดผิด
                     ยุพาภรณ์  ชาวเชียงขวาง (2535 : 65)  ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความโดยใช้แบบฝึกทีกษะการเขียนเรียงความกับการสอนปกติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงบาน  อำเภอเชียงคำ    จังหวัดพะเยา  ผลการทดลองพบว่าแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความมีประสิทธิภาพ 80.11/86.43  เป็นไปตามกฎเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกการสอนแบบปกติ  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
                     ปัญญา  บัววัจนา (2536 : บทคัดย่อ)  ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนจดหมายกลุ่มทักษะภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนจดหมายกับโดยใช้แบบฝึกหัดตามคู่มือครูการสอนวิชาภาษาไทย  ผลการวิจัยพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนจดหมายกลุ่มทักษะภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
                     ชวนจิต  ภูมาตย์ (2537 : 65) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำว่าการเขียนเป็นทักษะที่นักเรียนจะฝึกได้ช้ากว่าทักษะอื่นๆ  ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยุ่งยากซับซ้อนฉะนั้นเด็กต้องมีความพร้อมโดยฝึกทักษะการฟังการเขียนในระดับ ป.1-2 มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานในการเขียนและช่วยให้เขียนอย่างสนุกสนานไม่เบื่อ  โดยการจัดกิจกรรมต่างๆให้ฝึกจากยากไปหาง่ายและให้ความสัมพันธ์  การพูด  การอ่าน
                                   นิภาลักษณ์  ยอดยิ่ง (2539 : 82) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะกิจกรรมขั้นตอนที่ 5  ที่มีประสิทธิภาพ  ประกอบการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์การภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  เรื่องฉันรักต้นไม้  ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพมาตรฐาน  80/80  และคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     อดุลย์  ภูปลื้ม (2539 : 61) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกที่จัดคำเป็นกลุ่มคำยาก ง่ายกับแบบฝึกที่จัดคำคละคำผลการวิจัยปรากฏว่า  การเขียนสะกดคำของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกที่จัดคำเป็นกลุ่มคำกับแบบฝึกที่จัดคำคละคำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                     มนทิรา  ภักดีณรงค์ (2540 : 82 ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบฝึกกิจกรรมขั้นตอนที่ 5   ที่มีประสิทธิภาพ และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องยังไม่สายเกินไปวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา   ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพมาตรฐาน  80/80  และคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     จากการวิจัยเกี่ยวกับการสอนสะกดคำ  พอสรุปได้ว่า  การสอนและสะกดคำที่จะให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสะกดคำนั้นมีหลายแบบ  ได้แก่  การสอนโดยการเลียนแบบ  การสังเกตการให้นักเรียนรู้จักตัวอักษร  ได้รู้จักตัวอย่างทั้งหมดก่อน  การเขียนตามคำบอก  การฟังและการมองเห็นภาพในขณะที่ฟัง  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือนักเรียนจะต้องออกเสียงให้ถูกต้องซึ่งจะช่วยให้การเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

   เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี  4  ชนิด  คือ 
              1  แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3   ซึ่งเป็นแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
             2   แผนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3
  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
             1แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย  เรื่องการอ่านและเขียนคำยาก  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3    เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ  จำนวน  30  ข้อ  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยและการวัดผลการศึกษาตรวจความตรงเชิงโครงสร้าง   ความตรงเชิงเนื้อหา   รวมทั้งคำศัพท์  สำนวนภาษา  ตัวเลือก  เพื่อแก้ไขปรับปรุงก่อนที่จะนำไปทดลองสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของข้อสอบก่อนนำไปใช้จริงในการวิจัย
             2 แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  

วิธีการสร้างนวัตกรรม
                            ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน  ดังนี้
1.การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                                1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยศึกษาสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   มาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาคู่มือครู  หนังสือเรียนและแบบฝึกหัด   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   สำนักวิชาการ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
                                1.2 ศึกษาหลักจิตวิทยา  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดี
                            1.3 นำคำยากที่ผู้วิจัยรวบรวมไว้สำหรับการเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่  1   จำนวน 122  คำ  มาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะการสะกดคำยาก  โดยให้ครอบคลุมเนื้อหา  จุดประสงค์การเรียนรู้โดยแยกเป็น 4  ประเภท  ดังนี้
1.3.1          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำที่มีอักษรนำ 1  ชุด
1.3.2          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำที่มีตัวการันต์ 3  ชุด
1.3.3          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำควบกล้ำ  3  ชุด
1.3.4          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากไม่ตรงตามมาตรา 3  ชุด
1.4       นำแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้น  เสนอผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน
ภาษาไทยและด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
                                                1 นายยรรยง     ผิวอ่อน   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ    หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                2 นายสุภพ    ไชยทอง    ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                         3.นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                        4. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                                         5.นายสมพล     คำสัตย์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองตอ - บัวเสียว
ตำบลดอนแรด   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2

                                    ผู้เชี่ยวชาญประเมินโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามแบบประเมินของลิเคอร์ท  (Likert) เป็นมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  Scale)  ซึ่งมี  5  ระดับ คือ  เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก  เหมาะสมปานกลาง  เหมาะสมน้อยที่สุด  (บุญชม  ศรีสะอาด. 2545)
                                   กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน  ดังนี้
                คะแนน                                                                 แปลความหมาย
4.51-5.0                                                                                                เหมาะสมมากที่สุด
3.51-4.50                                                                                             เหมาะสมมาก
2.51-3.50                                                                                             เหมาะสมปานกลาง
1.51-2.50                                                                                             เหมาะสมน้อย
1.00-1.50                                                                                             เหมาะสมน้อยที่สุด

นำแบบประเมินแบบฝึกทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินหาค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย
3.50 ถึง 5.00  เป็นเกณฑ์ที่ตัดสิน ปรากฏว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้รับความคิดเห็นตั้งแต่ค่าเฉลี่ย 4.50 ถึง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด
1.6 นำแบบฝึกทักษะไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มย่อยแบบ 1  ต่อ 1  กับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านบึง    ตำบลดอนแรด     อำเภอรัตนบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต  2    จำนวน  3  คน  คือ  นักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อนอย่างละ  1  คน  เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหาและระดับชั้น
                                1.7 นำแบบฝึกทักษะที่ทดลองใช้แล้วมาประปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหา  และคำสั่งในแต่ละกิจกรรมของแบบฝึกซึ่งพบว่าเนื้อหาบางกิจกรรมมากเกินไปนักเรียน  ทำไม่ทันเวลาที่กำหนดไว้
                                1.8 นำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงข้อบกพร่องเสร็จแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3โรเรียนบ้านธาตุ    จำนวน  9 คน  โดยใช้นักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อน  อย่างละ  3  คน  ซึ่งพบว่านักเรียนสามารถทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะแต่ละชุดเสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้และแก้ไขคำสั่งในกิจกรรมที่ 5  ไม่ชัดเจนแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
                                1.9 นำแบบฝึกทักษะการสะกดคำยากที่ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของคำสั่งที่ใช้ในกิจกรรมแล้ว  เสนอผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม  เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ    ซึ่งพบว่าแบบฝึกทักษะมีความเหมะสมในเรื่องของการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหา  และระดับชั้นทั้ง 10  ชุด
                                1.10 นำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเขียนเป็นฉบับจริง  เพื่อนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการสะกดคำยาก  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                     
                           ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
                                2.1 ศึกษาทฤษฎี   หลักการ  และแนวคิด  การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบ   อิงเกณฑ์ของบุญชม  ศรีสะอาด   (2545)  และการวัดผลการศึกษาของสมนึก  ภัททิยธนี (2541)  คู่มือการประเมินผลการเรียน  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน    คู่มือจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      และการวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้   ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  2544  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                         2.2  สร้างแบบทดสอบการเขียนสะกดคำยากแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ  4  ตัวเลือก จำนวน 40  ข้อ  โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   ภาคเรียนที่  1
                         2.3 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาความเหมาะสมของภาษาที่ใช้  และประเมินความสอดคล้อง ระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบ  โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
                                ให้คะแนน 1  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                ให้คะแนน 0  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                ให้คะแนน -1  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นไม่วัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
           โดยผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบประกอบด้วย
                                                   1.  นายสุภพ    ไชยทอง    ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                   2. นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                  3. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                               
                                   2.4วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  ระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  โดยใช้สูตร IOC  (สมนึก  ภัททิยนี. 2541) โดยเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC  ตั้งแต่  .50  ถึง  1.00  ซึ่งค่าเฉลี่ยรวมได้ 0.98  เป็นข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรง  เชิงเนื้อหาที่ใช้ได้
                                     2.5 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้าน  ธาตุ     ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2 จำนวน   21   คน  แล้วนำมาตรวจและให้คะแนน  โดยตอบถูกให้  1  คะแนน  ตอบผิดให้  0  คะแนน
                                       2.6  นำผลการสอบมาวิเคราะห์ค่าความยากง่าย  (p)  และอำนาจจำแนก  (r)  แล้วพิจารณาข้อสอบที่มีระดับความยากง่ายระหว่าง  .20  ถึง  .80  ค่าอำนาจจำแนก  .20  ขึ้นไป  คัดเลือกมาจำนวน  30  ข้อ  เพื่อใช้เป็นข้อทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  สำหรับการวิจัยในครั้งนี้
                                2.8 จัดพิมพ์ข้อสอบที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ  จำนวน  30  ข้อเพื่อใช้เป็นแบบทดสอบฉบับจริงเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้
               การสร้างและพัฒนาแผนการสอนตามรูปแบบการสอนอ่านและเขียนคำยาก  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
                              ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
                             1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยศึกษาสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   มาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาคู่มือครู  หนังสือเรียนและแบบฝึกหัด   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   สำนักวิชาการ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
                                           2. ศึกษารูปแบบการสอนจากการสังเคราะห์หลักการ  ทฤษฎีการสอน  การใช้สื่อการสอน ซึ่งจะได้รูปแบบการสอนที่ประกอบด้วย  เป้าหมาย  หลักการ   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลการสอน   บทบาทครูและนักเรียน  และบรรยากาศในชั้นเรียน
                               3. จัดทำแผนการสอนตามแบบฝึกที่ได้จัดสร้างไว้แล้ว  จำนวน 10  แผน  คือ
                       แผนการสอนที่  1     เรื่อง    คำที่มีอักษรนำ
                       แผนการสอนที่  2     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  3     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  4     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  5     เรื่อง    คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  6     เรื่อง     คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  7     เรื่อง     คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  8     เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                       แผนการสอนที่  9     เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                       แผนการสอนที่  10   เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                           โดยแต่ละแผนการสอนใช้เวลาสอนแผนละ 1  ชั่วโมง
                           4.  นำแผนการสอนที่สร้างขึ้น  ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา  จำนวน  3  ท่านซึ่งผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย
                                1. นายยรรยง     ผิวอ่อน       ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ   หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                2. นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                            3. นายสมพล     คำสัตย์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองตอ - บัวเสียว
ตำบลดอนแรด   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                           5.  ปรับปรุงแผนการสอน  ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้ได้แผนการสอนที่มีประสิทธิภาพด้านการแก้โจทย์ปัญหาอย่างแท้จริงก่อนนำไปใช้
4.แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก   มีวิธีการสร้างดังนี้
                           1. ศึกษาเอกสาร  หลักการและวิธีการสร้างแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า(Rating   Scale)  จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                           2. ดำเนินการสร้างแบบสอบถาม  โดยรวบรวมเนื้อหาจากเอกสารการวัด-ประเมินผลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางการศึกษา   โดยสร้างให้ครอบคลุมจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดอย่างเหมาะสม   ได้ข้อคำถามทั้งสิ้นจำนวน  20  ข้อ   มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประเภทจัดลำดับคุณภาพ   โดยแปลความหมายของผู้ตอบแบบสอบถามแล้วประเมินเป็นค่าระดับคะแนนดังนี้
               เห็นด้วยอย่างยิ่ง                                     ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    5
               เห็นด้วย                                                  ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    4
               ไม่แน่ใจ                                                  ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    3
               ไม่เห็นด้วย                                             ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ     2
               ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง                                 ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ     1
                              3.นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3  ท่านพิจารณาความตรงตามโครงสร้างเนื้อหา  ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)      .98  แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ      โดยมีผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาตรวจสอบคุณภาพจำนวน  3   คือ
                                      1 นายยรรยง     ผิวอ่อน  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ   หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                         2 นายสุภพ    ไชยทอง    ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                      3. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                               4.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3   โรงเรียนบึง   ตำบลดอนแรด     อำเภอรัตนบุรี    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต  2     จำนวน  21  คน
                               5.นำแบบสอบถามมาตรวจให้คะแนนรายข้อเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบสอบถามดังนี้
                                    5.1 หาค่าอำนาจจำแนก  โดยใช้สูตร   Bernnan  ปรากฏว่าแบบสอบถามทั้ง  20  ข้อมีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า  1.75  ทุกข้อ  จึงถือว่าแบบสอบถามนี้มีค่าอำนาจจำแนก
                                    5.2 หาค่าความเชื่อมั่น  ด้วยวิธีครอนบาค  (Cronbach)  โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า  (บุญชม   ศรีสะอาด.  2543)
                                    5.3 หาค่าเฉลี่ย (X)     (ล้วน   สายยศและอังคณา    สายยศ .  2540)
                                    5.4  หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   (ล้วน   สายยศและอังคณา    สายยศ.  2540)
             แล้วนำผลที่ได้แปลความหมายตามเกณฑ์ดังนี้
                                     ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะมากที่สุด
                                     ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะมาก
                                     ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติไม่แน่ใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
                                     ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะน้อย
                                     ค่าเฉลี่ย 0.00-1.49 หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะน้อยที่สุด

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้
                       1.แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2    ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน   E1 /E2    80/80     โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ   81.60 / 81.76   แสดงว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
                        2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่    3    ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น    จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน    ปรากฏว่าคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .01
                        3.ผลการวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2 พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับเห็นด้วยมากที่สุด    โดยมีคะแนนเฉลี่ยของเจตคติในระดับ  4.64

คุณค่าของนวัตกรรม
              จากผลการวิจัยพบว่าการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น   ดังนั้นแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จึงเป็นสื่อที่สามารถเสริมความรู้  ความเข้าใจให้แก่นักเรียนได้ดีอีกชนิดหนึ่ง    ในกรณีที่นักเรียนในชั้นเรียนความสามารถที่แตกต่างกัน  ครูก็สามารถนำแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2  นี้ไปใช้สอนซ่อมเสริมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนช้าได้เป็นอย่างดี