วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553









รายงานผลการพัฒนานวัตกรรม
นางพิมพา  บุญเย็น  นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่นที่ 2
ศูนย์โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ จ.สุรินทร์

1.ชื่อนวัตกรรม
                     แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก  กลุ่มสาระภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2.นวัตกรรมด้านใด
                    เป็นนวัตกรรมการศึกษาด้านการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
3 ความสำคัญของนวัตกรรม          
                     ภาษาไทยเป็นมรดกที่คนในชาติภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง    เพราะเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่าง   เป็นสื่อถ่ายทอดประวัติศาสตร์   ศิลปวิทยาการ   และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่ช่วยทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจกันได้    นอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้เพื่อเพิ่มพูนปัญญาและความก้าวหน้าของคน    ภาษาของชนชาติใดย่อมมีความสำคัญต่อคนในชาตินั้น    ภาษาไทยจึงเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อคนไทย   ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาติที่คนไทยทุกคนควรภูมิใจและช่วยกันธำรงรักษาไว้  อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวันในการดำรงตนเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                    ภาษาไทยจึงเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิต  เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และการที่ผู้เรียนจะนำความรู้วิชาภาษาไทยไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฝึกฝนทักษะทั้ง 5  ด้าน  ได้แก่  การฟัง  ดู  พูด  อ่านและเขียน ในบรรดาทักษะทั้งสี่การเขียนเป็นทักษะถือเป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึก และความเข้าใจของตนเองออกมาเป็นตัวอักษรเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ในการเรียนการสอนทุกวิชาจะต้องอาศัยการเขียนเป็นเครื่องช่วยบันทึกความจำ จึงนับได้ว่าการเขียนเป็นรากฐานที่สำคัญในการเรียนวิชาต่าง ๆ  การเขียนจึงถือได้ว่าเป็นการสื่อสารที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะอื่น  (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.   2550)
                     ปัจจุบันทักษะการอ่านและการเขียนพบว่ามีปัญหาในเรื่องรูปแบบที่เขียนผิด โดยมีปัญหามากในการเขียนผิดที่  การใช้ตัวการันต์ผิดที่ วรรณยุกต์ผิดที่ ตัวสะกดผิดที่ สระเสียงสั้น-ยาว ใช้พยัญชนะผิด เป็นต้น สำหรับคำยากและคำที่อยู่ในระดับยากมากที่นักเรียนเขียนผิดมากได้แก่ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดหรือสะกดพร้อมกัน 2 ตัว คำที่มีหลายพยางค์ คำที่มีตัวการันต์ คำที่มีอักษรควบกล้ำ คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่มีวรรณยุกต์กำกับ คำที่ประวิสรรชนีย์ คำที่ผสมด้วยสระ ใ ไ คำที่มี ห นำ และคำที่มีทัณฑฆาตกำกับ (ทฤษฏี    ธีระวัฒนพานิช.   2536 ) ซึ่งพบได้จากการตรวจแบบฝึกหัดและการตรวจข้อสอบวัดผลปลายภาคเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และจากผลการวิจัยสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในโรงเรียนระดับประถมศึกษาของกองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนภาษาไทยของนักเรียน แบบเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ สมรรถภาพที่มีปัญหา ได้แก่ ทักษะการอ่านและการเขียน
                      นอกจากนี้นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษามักจะเขียนหนังสือไม่ถูกต้องได้แก่ การสะกดคำผิด การใช้การันต์และการใช้หลักภาษาตลอดจนการเขียนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเขียนที่ปรากฏต่อสาธารณะชนส่วนหนึ่งมักพบว่าเขียนผิดในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ คำโฆษณาต่างๆ เป็นต้น ในระดับประถมศึกษาการเขียนสะกดคำผิดถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญต่อการแสดงออกทางการเขียนของเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถสะกดคำเขียนตามเจตนาของตนเองได้ (บันลือ พฤกษะวัน.   2531) จะเห็นว่าการเขียนสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของการเขียน โดยถือว่าเป็นทักษะการเขียนที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเขียนสะกดได้ถูกจะช่วยให้อ่านออกและเขียนได้ถูกต้อง ช่วยให้นักเรียนรู้จักคำต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน (วรรณี โสมประยูร.   2537 ) ซึ่งส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของสำนักทดสอบทางการศึกษา   กระทรวงศึกษาธิการ   ในปีการศึกษา 2550   พบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 72.46 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับผลการประเมินผลคุณภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ของโรงเรียนบ้านหนองตอ-บัวเสียวที่พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70.40 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือร้อยละ 75 จะเห็นได้ว่าสมรรถภาพในการเขียนของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับสมรรถภาพด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการสะกดคำผิดในเรื่องสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์สูงมาก ทำให้มีปัญหาในด้านการเรียนภาษาไทย เด็กอ่านไม่ออกและเขียนไม่ถูกต้อง
                       การเขียนสะกดคำที่ถูกต้องเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ คนไทยทุกคนจึงควรตระหนักถึงปัญหาการเขียนสะกดคำผิดและช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ปัญหาในการเขียนสะกดคำผิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่อง การเขียนสะกดคำผิดมาก ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การมีประสบการณ์ผิด การเขียนตามเสียงพูด เสียงอ่าน หรือเขียนผิดเพราะการเดา ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง ของการเขียนสะกดคำผิดของนักเรียนนั้น น่าจะเป็นเพราะนักเรียนสับสนในเรื่องของเสียงอ่าน เสียงพูด กับตัวอักษรที่ใช้เรียน วิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ ครูผู้สอนต้องมีส่วนสำคัญโดยตรงที่จะช่วยแก้ไขในข้อบกพร่องให้แก่นักเรียน ครูควรหาวิธีสอนและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เลือกคำมาสอนและฝึกทักษะการเขียน ตามลำดับความยากง่าย การสร้างแบบฝึกทักษะ เพื่อใช้เสริมหลังจากเรียนเนื้อหาไปแล้ว จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแบบฝึกทักษะการสะกดคำ จะช่วยให้ครูสามารถแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนสะกดคำของนักเรียนได้ ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thondike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับการฝึกฝนหรือการกระทำซ้ำ  ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะ โดยลักษณะวิชาแล้ว ผู้เรียนจะมีทักษะทางภาษาดี มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทัศนคติที่ดีต่อภาษาไทย ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนและกระทำซ้ำ ถ้าผู้เขียนได้ฝึกฝน ได้ทำแบบฝึกหัด ได้ใช้ทักษะทางภาษามากเท่าใดก็จะช่วยให้มีทักษะดีมากขึ้นเท่านั้น (สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์.   2523 ) นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบันมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย เกิดทักษะกระบวนการ และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ทั้งทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะทักษะในการเขียนสะกดคำ
4.กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
             4.1วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการนำนวัตกรรมไปใช้
                    4.1.1เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
                   4.1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องคำยากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ระหว่างก่อนใช้แบบฝึกกับหลังการใช้แบบฝึกการสะกดคำยาก
                   4.1.3 เพื่อศึกษาเจตนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากเป็นสื่อการเรียน

                งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                                   วิชัย  เพ็ชรเรือง (2531 : 130)  ได้สร้างแบบฝึกซ่อมเสริมในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนสุนทรพัฒนา  จังหวัดชัยภูมิ  จำนวน  80  คนผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกซ่อมเสริม   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสามารถในการอ่านสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกซ่อมเสริม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     สุรศักดิ์  กาญจนการุณ (2531 : 85)  ได้ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านการเขียน  และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่พูดภาษาเขมรเป็นภาษาแม่  ที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษากับวิธีสอนแบบปกติ  ในวิชาภาษาไทยผลการทดลองปรากฏว่า  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษา  มีความเข้าใจในการอ่านการเขียน  และความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวธีสอนแบบปกติ
                     จรัสศรี  กิจบัญญัติอนันต์ (2532 :  บทคัดย่อ)  ศึกษาเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน  การเขียนคำ  และทัศฯคติต่อวิชาภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จังหวัดขอนแก่น   ที่ได้รับการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา  กับการสอนปกติ  ผลการทดลองปรากฏว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีมุ่งประสบการณ์ภาษามีความมเข้าใจในการอ่าน  การเขียน  และทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ
                     สุชาดา  ชาทอง (2534 : 76-77) ได้ศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยนำไปทดลองกับนักเรียนในสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา  จำนวน  45 โรง  ผลการวิจัยพบว่า  ลักษณะข้อผิดพลาดในการเขียนสะกดการันต์มีดังนี้
1.       ใช้พยัญชนะต้นผิด
2.       การใช้สระผิด
3.       การใช้สะกดการันต์ผิด
4.       การใช้วรรณยุกต์ผิด
5.       การใช้พยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดผิด
                     ยุพาภรณ์  ชาวเชียงขวาง (2535 : 65)  ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความโดยใช้แบบฝึกทีกษะการเขียนเรียงความกับการสอนปกติ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงบาน  อำเภอเชียงคำ    จังหวัดพะเยา  ผลการทดลองพบว่าแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความมีประสิทธิภาพ 80.11/86.43  เป็นไปตามกฎเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกการสอนแบบปกติ  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
                     ปัญญา  บัววัจนา (2536 : บทคัดย่อ)  ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนจดหมายกลุ่มทักษะภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ที่ได้รับการฝึกโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนจดหมายกับโดยใช้แบบฝึกหัดตามคู่มือครูการสอนวิชาภาษาไทย  ผลการวิจัยพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนจดหมายกลุ่มทักษะภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
                     ชวนจิต  ภูมาตย์ (2537 : 65) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำว่าการเขียนเป็นทักษะที่นักเรียนจะฝึกได้ช้ากว่าทักษะอื่นๆ  ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยุ่งยากซับซ้อนฉะนั้นเด็กต้องมีความพร้อมโดยฝึกทักษะการฟังการเขียนในระดับ ป.1-2 มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานในการเขียนและช่วยให้เขียนอย่างสนุกสนานไม่เบื่อ  โดยการจัดกิจกรรมต่างๆให้ฝึกจากยากไปหาง่ายและให้ความสัมพันธ์  การพูด  การอ่าน
                                   นิภาลักษณ์  ยอดยิ่ง (2539 : 82) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะกิจกรรมขั้นตอนที่ 5  ที่มีประสิทธิภาพ  ประกอบการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์การภาษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  เรื่องฉันรักต้นไม้  ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพมาตรฐาน  80/80  และคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     อดุลย์  ภูปลื้ม (2539 : 61) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนสะกดคำขอนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกที่จัดคำเป็นกลุ่มคำยาก ง่ายกับแบบฝึกที่จัดคำคละคำผลการวิจัยปรากฏว่า  การเขียนสะกดคำของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกที่จัดคำเป็นกลุ่มคำกับแบบฝึกที่จัดคำคละคำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                     มนทิรา  ภักดีณรงค์ (2540 : 82 ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบฝึกกิจกรรมขั้นตอนที่ 5   ที่มีประสิทธิภาพ และความคงทนในการเรียนรู้เรื่องยังไม่สายเกินไปวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา   ผลการวิจัยปรากฏว่า แบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพมาตรฐาน  80/80  และคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
                     จากการวิจัยเกี่ยวกับการสอนสะกดคำ  พอสรุปได้ว่า  การสอนและสะกดคำที่จะให้ได้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสะกดคำนั้นมีหลายแบบ  ได้แก่  การสอนโดยการเลียนแบบ  การสังเกตการให้นักเรียนรู้จักตัวอักษร  ได้รู้จักตัวอย่างทั้งหมดก่อน  การเขียนตามคำบอก  การฟังและการมองเห็นภาพในขณะที่ฟัง  สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือนักเรียนจะต้องออกเสียงให้ถูกต้องซึ่งจะช่วยให้การเขียนสะกดคำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

   เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี  4  ชนิด  คือ 
              1  แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3   ซึ่งเป็นแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
             2   แผนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3
  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
             1แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย  เรื่องการอ่านและเขียนคำยาก  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3    เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ  จำนวน  30  ข้อ  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทยและการวัดผลการศึกษาตรวจความตรงเชิงโครงสร้าง   ความตรงเชิงเนื้อหา   รวมทั้งคำศัพท์  สำนวนภาษา  ตัวเลือก  เพื่อแก้ไขปรับปรุงก่อนที่จะนำไปทดลองสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของข้อสอบก่อนนำไปใช้จริงในการวิจัย
             2 แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระกรเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  

วิธีการสร้างนวัตกรรม
                            ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน  ดังนี้
1.การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำยากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                                1.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยศึกษาสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   มาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาคู่มือครู  หนังสือเรียนและแบบฝึกหัด   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   สำนักวิชาการ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
                                1.2 ศึกษาหลักจิตวิทยา  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบฝึกทักษะที่ดี
                            1.3 นำคำยากที่ผู้วิจัยรวบรวมไว้สำหรับการเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ภาคเรียนที่  1   จำนวน 122  คำ  มาสร้างเป็นแบบฝึกทักษะการสะกดคำยาก  โดยให้ครอบคลุมเนื้อหา  จุดประสงค์การเรียนรู้โดยแยกเป็น 4  ประเภท  ดังนี้
1.3.1          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำที่มีอักษรนำ 1  ชุด
1.3.2          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำที่มีตัวการันต์ 3  ชุด
1.3.3          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากคำควบกล้ำ  3  ชุด
1.3.4          แบบฝึกทักษะการสะกดคำยากไม่ตรงตามมาตรา 3  ชุด
1.4       นำแบบฝึกทักษะที่สร้างขึ้น  เสนอผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน
ภาษาไทยและด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
                                                1 นายยรรยง     ผิวอ่อน   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ    หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                2 นายสุภพ    ไชยทอง    ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                         3.นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                        4. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                                         5.นายสมพล     คำสัตย์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองตอ - บัวเสียว
ตำบลดอนแรด   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2

                                    ผู้เชี่ยวชาญประเมินโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามแบบประเมินของลิเคอร์ท  (Likert) เป็นมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  Scale)  ซึ่งมี  5  ระดับ คือ  เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก  เหมาะสมปานกลาง  เหมาะสมน้อยที่สุด  (บุญชม  ศรีสะอาด. 2545)
                                   กำหนดเกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน  ดังนี้
                คะแนน                                                                 แปลความหมาย
4.51-5.0                                                                                                เหมาะสมมากที่สุด
3.51-4.50                                                                                             เหมาะสมมาก
2.51-3.50                                                                                             เหมาะสมปานกลาง
1.51-2.50                                                                                             เหมาะสมน้อย
1.00-1.50                                                                                             เหมาะสมน้อยที่สุด

นำแบบประเมินแบบฝึกทักษะที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินหาค่าเฉลี่ยโดยยึดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย
3.50 ถึง 5.00  เป็นเกณฑ์ที่ตัดสิน ปรากฏว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้รับความคิดเห็นตั้งแต่ค่าเฉลี่ย 4.50 ถึง ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด
1.6 นำแบบฝึกทักษะไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มย่อยแบบ 1  ต่อ 1  กับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านบึง    ตำบลดอนแรด     อำเภอรัตนบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต  2    จำนวน  3  คน  คือ  นักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อนอย่างละ  1  คน  เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหาและระดับชั้น
                                1.7 นำแบบฝึกทักษะที่ทดลองใช้แล้วมาประปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหา  และคำสั่งในแต่ละกิจกรรมของแบบฝึกซึ่งพบว่าเนื้อหาบางกิจกรรมมากเกินไปนักเรียน  ทำไม่ทันเวลาที่กำหนดไว้
                                1.8 นำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงข้อบกพร่องเสร็จแล้วไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3โรเรียนบ้านธาตุ    จำนวน  9 คน  โดยใช้นักเรียนเก่ง  ปานกลาง  และอ่อน  อย่างละ  3  คน  ซึ่งพบว่านักเรียนสามารถทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะแต่ละชุดเสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้และแก้ไขคำสั่งในกิจกรรมที่ 5  ไม่ชัดเจนแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
                                1.9 นำแบบฝึกทักษะการสะกดคำยากที่ปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของคำสั่งที่ใช้ในกิจกรรมแล้ว  เสนอผู้เชี่ยวชาญชุดเดิม  เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะ    ซึ่งพบว่าแบบฝึกทักษะมีความเหมะสมในเรื่องของการใช้ภาษา  เวลา  เนื้อหา  และระดับชั้นทั้ง 10  ชุด
                                1.10 นำแบบฝึกทักษะที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเขียนเป็นฉบับจริง  เพื่อนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการสะกดคำยาก  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                     
                           ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้
                                2.1 ศึกษาทฤษฎี   หลักการ  และแนวคิด  การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์แบบ   อิงเกณฑ์ของบุญชม  ศรีสะอาด   (2545)  และการวัดผลการศึกษาของสมนึก  ภัททิยธนี (2541)  คู่มือการประเมินผลการเรียน  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน    คู่มือจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      และการวัดและประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้   ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน   พุทธศักราช  2544  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                         2.2  สร้างแบบทดสอบการเขียนสะกดคำยากแบบปรนัยชนิดเลือกตอบแบบ  4  ตัวเลือก จำนวน 40  ข้อ  โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   ภาคเรียนที่  1
                         2.3 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาความเหมาะสมของภาษาที่ใช้  และประเมินความสอดคล้อง ระหว่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบ  โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
                                ให้คะแนน 1  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                ให้คะแนน 0  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                                ให้คะแนน -1  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นไม่วัดตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
           โดยผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบทดสอบประกอบด้วย
                                                   1.  นายสุภพ    ไชยทอง    ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                   2. นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                                  3. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                               
                                   2.4วิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง  ระหว่างข้อคำถามของแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  โดยใช้สูตร IOC  (สมนึก  ภัททิยนี. 2541) โดยเลือกข้อสอบที่มีค่า IOC  ตั้งแต่  .50  ถึง  1.00  ซึ่งค่าเฉลี่ยรวมได้ 0.98  เป็นข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ความเที่ยงตรง  เชิงเนื้อหาที่ใช้ได้
                                     2.5 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้าน  ธาตุ     ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2 จำนวน   21   คน  แล้วนำมาตรวจและให้คะแนน  โดยตอบถูกให้  1  คะแนน  ตอบผิดให้  0  คะแนน
                                       2.6  นำผลการสอบมาวิเคราะห์ค่าความยากง่าย  (p)  และอำนาจจำแนก  (r)  แล้วพิจารณาข้อสอบที่มีระดับความยากง่ายระหว่าง  .20  ถึง  .80  ค่าอำนาจจำแนก  .20  ขึ้นไป  คัดเลือกมาจำนวน  30  ข้อ  เพื่อใช้เป็นข้อทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  สำหรับการวิจัยในครั้งนี้
                                2.8 จัดพิมพ์ข้อสอบที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ  จำนวน  30  ข้อเพื่อใช้เป็นแบบทดสอบฉบับจริงเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้
               การสร้างและพัฒนาแผนการสอนตามรูปแบบการสอนอ่านและเขียนคำยาก  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
                              ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
                             1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยศึกษาสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   มาตรฐานการเรียนรู้และศึกษาคู่มือครู  หนังสือเรียนและแบบฝึกหัด   ชั้นประถมศึกษาปีที่  3   สำนักวิชาการ   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ
                                           2. ศึกษารูปแบบการสอนจากการสังเคราะห์หลักการ  ทฤษฎีการสอน  การใช้สื่อการสอน ซึ่งจะได้รูปแบบการสอนที่ประกอบด้วย  เป้าหมาย  หลักการ   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผลการสอน   บทบาทครูและนักเรียน  และบรรยากาศในชั้นเรียน
                               3. จัดทำแผนการสอนตามแบบฝึกที่ได้จัดสร้างไว้แล้ว  จำนวน 10  แผน  คือ
                       แผนการสอนที่  1     เรื่อง    คำที่มีอักษรนำ
                       แผนการสอนที่  2     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  3     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  4     เรื่อง    คำที่มีตัวการันต์
                       แผนการสอนที่  5     เรื่อง    คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  6     เรื่อง     คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  7     เรื่อง     คำควบกล้ำ
                       แผนการสอนที่  8     เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                       แผนการสอนที่  9     เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                       แผนการสอนที่  10   เรื่อง     คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
                           โดยแต่ละแผนการสอนใช้เวลาสอนแผนละ 1  ชั่วโมง
                           4.  นำแผนการสอนที่สร้างขึ้น  ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหา  จำนวน  3  ท่านซึ่งผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย
                                1. นายยรรยง     ผิวอ่อน       ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ   หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                2. นางสาวสิริพรรณ     ช่วยบุดดา   ครูชำนาญการพิเศษ  สาขาภาษาไทย   โรงเรียนบ้านธาตุ   ตำบลธาตุ   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                            3. นายสมพล     คำสัตย์   ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองตอ - บัวเสียว
ตำบลดอนแรด   อำเภอรัตนบุรี   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                           5.  ปรับปรุงแผนการสอน  ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้ได้แผนการสอนที่มีประสิทธิภาพด้านการแก้โจทย์ปัญหาอย่างแท้จริงก่อนนำไปใช้
4.แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำยาก   มีวิธีการสร้างดังนี้
                           1. ศึกษาเอกสาร  หลักการและวิธีการสร้างแบบสอบถามประเภทมาตรประมาณค่า(Rating   Scale)  จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                           2. ดำเนินการสร้างแบบสอบถาม  โดยรวบรวมเนื้อหาจากเอกสารการวัด-ประเมินผลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางการศึกษา   โดยสร้างให้ครอบคลุมจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดอย่างเหมาะสม   ได้ข้อคำถามทั้งสิ้นจำนวน  20  ข้อ   มีลักษณะเป็นแบบสอบถามประเภทจัดลำดับคุณภาพ   โดยแปลความหมายของผู้ตอบแบบสอบถามแล้วประเมินเป็นค่าระดับคะแนนดังนี้
               เห็นด้วยอย่างยิ่ง                                     ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    5
               เห็นด้วย                                                  ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    4
               ไม่แน่ใจ                                                  ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ    3
               ไม่เห็นด้วย                                             ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ     2
               ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง                                 ให้ค่าระดับคะแนนเท่ากับ     1
                              3.นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  3  ท่านพิจารณาความตรงตามโครงสร้างเนื้อหา  ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)      .98  แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ      โดยมีผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาตรวจสอบคุณภาพจำนวน  3   คือ
                                      1 นายยรรยง     ผิวอ่อน  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ   หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                         2 นายสุภพ    ไชยทอง    ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  2
                                      3. นายสนั่น     เมยท่าแค   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  ฝ่ายวิจัยและวัดผลการศึกษา   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต  2
                               4.นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองสอบถามนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3   โรงเรียนบึง   ตำบลดอนแรด     อำเภอรัตนบุรี    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต  2     จำนวน  21  คน
                               5.นำแบบสอบถามมาตรวจให้คะแนนรายข้อเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบสอบถามดังนี้
                                    5.1 หาค่าอำนาจจำแนก  โดยใช้สูตร   Bernnan  ปรากฏว่าแบบสอบถามทั้ง  20  ข้อมีค่าอำนาจจำแนกมากกว่า  1.75  ทุกข้อ  จึงถือว่าแบบสอบถามนี้มีค่าอำนาจจำแนก
                                    5.2 หาค่าความเชื่อมั่น  ด้วยวิธีครอนบาค  (Cronbach)  โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า  (บุญชม   ศรีสะอาด.  2543)
                                    5.3 หาค่าเฉลี่ย (X)     (ล้วน   สายยศและอังคณา    สายยศ .  2540)
                                    5.4  หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)   (ล้วน   สายยศและอังคณา    สายยศ.  2540)
             แล้วนำผลที่ได้แปลความหมายตามเกณฑ์ดังนี้
                                     ค่าเฉลี่ย 4.50-5.00  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะมากที่สุด
                                     ค่าเฉลี่ย 3.50-4.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะมาก
                                     ค่าเฉลี่ย 2.50-3.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติไม่แน่ใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
                                     ค่าเฉลี่ย 1.50-2.49  หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะน้อย
                                     ค่าเฉลี่ย 0.00-1.49 หมายถึง  นักเรียนมีความรู้สึกและเจตคติต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะน้อยที่สุด

ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้
                       1.แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2    ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน   E1 /E2    80/80     โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ   81.60 / 81.76   แสดงว่าแบบฝึกทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
                        2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่    3    ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น    จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน    ปรากฏว่าคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .01
                        3.ผลการวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2 พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับเห็นด้วยมากที่สุด    โดยมีคะแนนเฉลี่ยของเจตคติในระดับ  4.64

คุณค่าของนวัตกรรม
              จากผลการวิจัยพบว่าการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2  ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น   ดังนั้นแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จึงเป็นสื่อที่สามารถเสริมความรู้  ความเข้าใจให้แก่นักเรียนได้ดีอีกชนิดหนึ่ง    ในกรณีที่นักเรียนในชั้นเรียนความสามารถที่แตกต่างกัน  ครูก็สามารถนำแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องการเขียนสะกดคำยาก   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านหนองตอ บัวเสียว  อำเภอรัตนบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต  2  นี้ไปใช้สอนซ่อมเสริมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนช้าได้เป็นอย่างดี